ยินดีต้อนรับ

วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์


เครือข่ายคอมพิวเตอร์


เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) คือระบบที่มีคอมพิวเตอร์อย่างน้อยสองเครื่องเชื่อมต่อกันโดยใช้สื่อกลาง และสามารถสื่อสารข้อมูลกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและได้และใช้ทรัพยากรที่อยู่ในเครือข่ายร่วมกันได้ และทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้เป็นจำนวนมาก เช่น เวบ  อีเมล  FTP

ความเป็นมาของเครือข่าย
        หากย้อนไปเมื่อประมาณ 50 ปีที่แล้ว คอมพิวเตอร์เครื่องแรกกำเนิดขึ้นที่มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย ต่อมาคอมพิวเตอร์ก็มีบทบาทสร้างสรรค์สังคมมนุษย์เข้ามาช่วยเหลืองานต่าง ๆ ของมนุษย์มากมาย จินตนาการการสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีมานานแล้ว โดยเฉพาะในนิยายวิทยาศาสตร์ ผู้เขียนนิยายวิทยาศาสตร์หลายท่านได้สร้างจินตนาการให้เห็นระบบสื่อสารที่ทรงพลัง โดยมีคอมพิวเตอร์ช่วยเป็นสื่อในการรับส่งข้อมูลระหว่างกัน
        จุดเริ่มต้นของเครือข่ายคอมพิวเตอร์เริ่มขึ้นในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1962 Licklider แห่งมหาวิทยาลัย MIT ได้บันทึกแนวคิดเกี่ยวกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ชื่อ Galactic Network โดยแสดงจินตนาการให้เห็นหลักการของเครือข่ายทางวิชาการ พร้อมทั้งประโยชน์ที่จะใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ในการพูดคุย สื่อสาร อภิปราย ส่งข่าวระหว่างกัน และเชื่อมโยงกันทั่วโลก ต่อมาLicklider ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าทีมงานวิจัยตามความต้องการของกระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกัน ในโครงการที่ชื่อ DARPA ร่วมกับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญทางด้านคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอีกหลายคน
ประโยชน์ของระบบเครือข่าย
        1. การใช้ Hardware ร่วมกัน
        2. การใช้ Software ร่วมกัน
        3. การต่อเชื่อมกับระบบอื่น
        4. การใช้ระบบ Multiuser
1. การใช้ Hardware ร่วมกัน ดังที่ได้กล่าวไว้ในตอนต้นว่า ระบบ Network จะช่วยให้เราสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในเรื่อง Hardware ลงไปได้ ทั้งนี้เนื่องจากเราสามารถนำ Hardware บางประเภทมาใช้งานร่วมกันได้ ได้แก่
        Share Diskspace เป็นการใช้งานร่วมกันของเนื้อที่ที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ซึ่งรวม Harddiskและ CD ROMS (Compac-Disk Read-Only Memory) ซึ่งเราจะใช้ Harddisk หรือ CD ROMSจาก PC ที่เราเรียกว่า "File Server นี้จะเป็นเครื่องที่ใช้ในการเก็บข้อมูล (Data) ของ User และSoftware ของระบบทั้งหมด รวมทั้งควบคุมการทำงานของระบบ Network ด้วย
สืบเนื่องจากการใช้ Harddisk หรือ CD ROMS จาก File Serveร่วมกันทุกคน จึงทำให้ไม่จำเป็นที่จะต้องมี Harddisk ที่เครื่อง PC แต่ละเคริอง รวมทั้งไม่ต้องมี Floppy Disk Drive ใดๆอีกต่อไป เราจะเรียกเครื่อง PC ประเภทนี้ว่า "Diskless Workstation" หรือ "Dump Terminal

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์2



Share Diskspace เป็นการใช้งานร่วมกันของเนื้อที่ที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ซึ่งรวม Harddiskและ CD ROMS (Compac-Disk Read-Only Memory) ซึ่งเราจะใช้ Harddisk หรือ CD ROMSจาก PC ที่เราเรียกว่า "File Server นี้จะเป็นเครื่องที่ใช้ในการเก็บข้อมูล (Data) ของ User และSoftware ของระบบทั้งหมด รวมทั้งควบคุมการทำงานของระบบ Network ด้วย
สืบเนื่องจากการใช้ Harddisk หรือ CD ROMS จาก File Serveร่วมกันทุกคน จึงทำให้ไม่จำเป็นที่จะต้องมี Harddisk ที่เครื่อง PC แต่ละเคริอง รวมทั้งไม่ต้องมี Floppy Disk Drive ใดๆอีกต่อไป เราจะเรียกเครื่อง PC ประเภทนี้ว่า "Diskless Workstation" หรือ "Dump Terminal
         Share Printer ในที่นี้เราจะขอกล่าวถึง Printer หรือเครื่องพิมพ์ก่อน ซึ่งเครื่องพิมพ์จะเป็นอุ)กรณ์ต่อพ่วง (Peripherals) ที่ใช้งานมากที่สุด โดยเฉพาะในปัจจุบันมี Printer ราคาสูงเกิดขึ้นมากมายโดยเฉพาะ Laser Printer และเครื่องพิมพ์สี (Color Printer) ซึ่งมีราคาแพง และจำเป็นต้องนำมาใช้งานร่วมกันเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
นอกจากนั้นกรณีที่เรานำเครื่องพิมพ์มาใช้งานในระบบ Network มาก กว่า เครื่อง เช่น Dot Matrix, Laser Printer, Color Printer, Ink Jet ฯลฯ เป็นต้น ในการส่งงานไปพิมพ์นั้น เราสามารถเลือกได้ว่าต้องการใช้งานเครื่องพิมพ์ชนิใดใช้งานได้ด้วย ซึ่งการทำงานง่ายและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
         Share Communication Devices หมายถึง การนำอุปกรณ์สื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์มาใช้งานร่วมกัน เช่น "Modem" ซึ่งใช้ในการเปลี่ยนถ่ายข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ด้วยกันโดยอาศัยสายโทรศัพท์ นอกจาก Modem แล้วอุปกรณ์อีกอย่างหนึ่งที่สามารถนำมาใช้งานร่วมกันได้คือ "FAX" โดยเราสามารถพิมพ์ข้อมูลที่ "Workstation" ของเรา และส่งข้อมูลผ่านระบบ Network ไปที่เครื่อง FAX ได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องพิมพ์ลงกระดาษ แล้วเดินไปส่ง FAX ที่เครื่อง FAX อีกต่อไป

      2. การใช้ Software ร่วมกัน Software ที่ใช้งานบนระบบ Network แบ่งออกเป็น Sofeware Packages และ Data ดังนั้นเราสามารถนำ Software ทั้ง แบบ มาใช้งานร่วมกันได้
                Share Software Packages ในปัจจุบันสิ่งที่เป็นปัญหาอยู่ก็คือ เรื่องของลิขสิทธิ์ทางSoftware ถ้าเรายังคงมี PC แต่ละเครื่องใช้งานแยกกันอยู่ เราจำเป็นต้องซื้อ Software ที่ถูกต้องตามกฏหมายมาใช้งาน กล่าวคือ ชุดต่อ เครื่อง รวมทั้งยังต้องคอยระวังในเรื่องของการ Copy Software มาใช้งานเองของผู้ใช้แต่ละคนด้วย การนำระบบ "Network" มาใช้งานจะช่วยลดปัญหาของการทำผิดกฏหมายทางด้านลิขสิทธิ์ได้
            นอกจากนั้น Software ที่ใช้งานบนระบบ Network จะมีความคล่องตัวกว่า Software บนPC โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการซ่อมบำรุง ปรับปรุง Software ให้ถูกต้อง เช่น รุ่นที่ Upgradeมาใหม่ เราจะสามารถติดตั้งและ Upgrade Software ทั้ง 10 เครื่อง ซึ่งเสียเวลามาก
            นอกจากนั้นในกรณีที่เราใช้ Workstation ประเภท "Diskless Workstation" User จะไม่มีสิทธิ์ในการใช้งานแผ่น Disk เล่ย ทำให้เราสามารถขจัดปัญหาของ "Virus" ที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ได้ รวมทั้งการตรวจสอบ Virus ก็ไม่จำเป็นต้องตรวจสอบที่ PC แต่ละเครื่อง แต่ตรวจสอบที่ Flie Server เพียงเครื่องเดียว ทำให้ประหยัดเวลา และเกิดการทำงานที่คล่องแคล่วตัวมากยิ่งขึ้น
    สำหรับเรื่องของ License หรือลิขสิทธิ์นั้น Software ที่จะนำมาใช้ในงานบนระบบ Network จะต้องเป็น Softwareรุ่น
ของเน็ตเวอร์เท่านั้นซึ่งในปัจจุบันมี License Software สำหรับระบบ Network 2 แบบ คือ
        1.  สำหรับเรื่องของ License หรือลิขสิทธิ์นั้น Software ที่จะนำมาใช้ในงานบนระบบ Networkจะต้องเป็น
Software รุ่น Network
        2.  Per User License หมายถึง Software ที่จะต้องระบุจำนวน User ลงไปเลยว่าต้องการใช้เท่าใด แต่การทำงานจริง ๆ แล้วจะใช้กี่คนพร้อมกันก็ได้
        Share Date ปัญหาที่เกิดขึ้นแน่นอน สำหรับการใช้งาน PC แยกกันคือ ในกรณีที่เราต้องการข้อมูลของ PC อีกเครื่องหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าข้อมูลนั้นมีขนาดใหญ่ หรือต้องการใช้งานข้อมูลร่วมกันบ่อย ๆ จะทำให้เสียเวลาในการ Copy ข้อมูลมาก ถ้าเรานำระบบ "Network" มาใช้งานข้อมูลของ User แต่ละคนจุถูกเก็บไว้ในที่เดียวกันคือ Harddisk ของ File Server ดังนั้น Userแต่ละคนสามารถเรียกใช้ข้อมูลซึ่งกันและกันได้ทันที แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการกำหนดสิทธิในการเรียกใช้ข้อมูลของแต่ละ User ซึ่งเราสามารถกำหนดได้ว่า User คนใดสามารถใช้งานข้อมูลใดได้ถึงระดับใดบ้าง เนื้อหาในส่วนนี้จะได้กล่าวในลำดับต่อไป
จากประโยชน์ของการใช้ Software ร่วมกันนี้ ข้อมูลจะถูกเก็บอยู่ที่ File Server ข้อมูลจึงถูกต้อง ทันสมัย และรวดเร็ว (เรียกว่า เป็นการควบคุมข้อมูลที่จุดศูนย์กลาง) โดยแต่ละ Workstationสามารถใช้ข้อมูลของ Workstation อื่น ได้ทันที (ถ้ามีสิทธิ์) โดยไม่ต้องรีรอ จึงทำให้การทำงานสะดวกขึ้น (Flexible) นอกจากนั้น ยังลดขั้นตอนในการปฏิบัติงาน และลดเวลาในการทำงาน คือแทนที่จะต้องเสียเวลาในการรอข้อมูลซึ่งกันและกัน เพื่อที่จะทำงานขั้นต่อไป ก็ทำให้ต้องเสียเวลาและลดความผิดพลาดที่เกิดจากข้อมูลไม่ถูกต้องทันสมัย เช่น เมื่อมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าทำให้ฝ่ายขาย ขานสินค้นตามราคาใหม่ได้ทันที โดยไม่ต้องรอการแจ้งเปลี่ยนแปลงราคาจากส่วนควบคุมการตั้งราคา เป็นต้น
        3. การต่อเชื่อมกับระบบอื่น
ในระบบงานของ PC เมื่อต้องการนำ PC มาเชื่อมต่อกับระบบอื่น เช่น Mainframe หรือ Mini Computer จะต้องมีอุปกรณ์เชื่อมต่อพิเศษ เพื่อให้ PC นั้นสามารถทำงานร่วมกับระบบอื่นได้ เราเรียกขบวนการนี้ว่า "Terminal Emulation" ปัญหาก็คือ PC 1 เครื่องจะต้องมีอุปกรณ์พิเศษต่อเชื่อมชุด ซึ่งปกติจะมีราคาสูงมาก เมื่อทำงานที่มากขึ้น การต่อเชื่อมกับ PC เพียง ชุด อาจไม่เพียงพอในการใช้งาน อาจจำเป็นต้องต่อมากยิ่งขึ้น ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากตามไปด้วย
แต่ถ้าเรามีระบบ "Network" อยู่แล้ว เราสามารถนำ PC และอุปกรณ์ต่อเชื่อมสำหรับระบบอื่นเพียง 1ชุดมาใช้งาน หลัก จาก นั้น Workstation เครื่องที่ไม่มี
อุปกรณ์ต่อเชื่อมนี้ก็สามารถเชื่อมต่อกับระบบอื่นได้ด้วย เสมือนมีอุปกรณ์เชื่อมต่อติดตั้งที่เครื่องของตนเอง ลักษณะเช่นนี้เราเรียกว่า "Gateway"
        4.การใช้ระบบ Multlusers
การใช้ระบบ Multlusers หมายถึง ระบบที่ User สามารถใช้โปรแกรมหรือข้อมูลเดียวกันได้ครั้งละหลาย ๆ คน ซึ่ง "Network" นั้นสามารถใช้งานระบบนี้ได้เป็นอย่างดี ทำให้ในปัจจุบัน ผู้ใช้งานในระบบ Multlusers หรือ Minicomputers ได้หันมาเล็งเห็นถึงความสำคัญของระบบ Network และเริ่มใช้งานระบบนี้มากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเห็นได้ชัดเจนของการทำงานในระบบ Multlusers ได้แก่
  E-Mall (Electronic Mail) ซึ่ง User แต่ละคนสามารถส่งและรับข้อมูลหรือข่าวสารซึ่งกันและกันได้ โดยผ่านทาง Workstation ของตนเอง มีโปรแกรมที่ใช้งานแบบ E-Mall ได้มากมายเช่นWorkPerfect Office, CC-Mail, ฯลฯ เป็นต้น
                Schedule หรือ Group Calendar เป็นโปรแกรมที่รวบรวมปฏิทินรายวันของ User แต่ละคนมารวมกันเป็นตาราง (Schedule) ของทั้งระบบ ทำให้ผู้จัดการระบบสามารถทราบนัดหมายต่าง ๆ ของ User แต่ละคนได้ และวางแผนการทำงานได้สะดวกยิ่งขึ้น เช่น WordPerfect Office
                Database สามารถใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลเดียวกันได้พร้อม ๆ กัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบัน File ได้ถูกพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น จนมี File Server เฉพาะสำหรับงาน Database เรียกว่าDatabase Server ซึ่งเป็น Server ชนิดพิเศษที่มีความเร็วสูงในการเรียกใช้และปรับปรุงข้อมูลในDatabase มีผู้กล่าวว่า ประสิทธิภาพในการทำงานของ Database Server นี้ใกล้เคียงหรืออาจจะดีกว่าแบบ Minicomputer เสียอีก
ประเภทของเครือข่าย
เครือข่ายท้องถิ่น  (Local Area Network : LAN)

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์3


เครือข่ายเฉพาะบริเวณ  (Local  Area  Network  :  LAN)  หมายถึง  เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่เป็นของกลุ่มผู้ใช้กลุ่มเล็กๆ  กลุ่มหนึ่ง  ปกติจะเป็นเครือข่ายที่มีขอบเขตอยู่ภายในอาคารเดียวกัน  หรือกลุ่มอาคารที่อยู่ติดกัน  มีระยะไม่เกิน  2-3  กิโลเมตร  เหมาะสำหรับการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล  หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กของพนักงานในองค์กรเข้าด้วยกันโดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ  การใช้อุปกรณ์ส่วนกลางร่วมกัน  การใช้โปรแกรมและข้อมูลร่วมกัน  และการรับ-ส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างกัน  เครือข่าย  LAN  มีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากระบบอื่นๆ  3  ประการ  คือ  ขนาด,  เทคโนโลยีที่ใช้ในการรับ-ส่งข้อมูล  และรูปแบบการจัดโครงสร้างของระบบ  

เครือข่ายเมือง (Metropolitan Area Network : MAN)

           เครือข่ายในเขตเมือง  (Metropolitan  Area  Network :  MAN)  มีลักษณะคล้ายกับระบบเครือข่าย  LAN  เพียงแต่มีขนาดใหญ่กว่าเท่านั้น  ระบบนี้อาจจะเชื่อมต่อการสื่อสารของสาขาหลายๆ  แห่งที่อยู่ภายในเขตเมืองเดียวกัน  หรืออาจครอบคลุมหลายเขตเมืองที่อยู่ใกล้กัน  โดยระบบนี้มีขีดความสามารถในการให้บริการทั้งการรับ-ส่งข้อมูลและโทรศัพท์ไปพร้อมกันได้  ในปัจจุบันยังครอบคลุมไปถึงระบบโทรทัศน์ทางสาย  (Cable  television)  ด้วย  ระบบนี้จะมีสายเคเบิลเพียงหนึ่งหรือสองเส้น  โดยไม่มีอุปกรณ์สลับช่องสื่อสาร  (Switching  element)  ทำหน้าที่คอยกักเก็บสัญญาณไว้ภายในหรือปล่อยสัญญาณออกไปสู่ระบบอื่น
เครือข่ายบริเวณกว้าง ( Wide Area Network : WAN)

            เครือข่ายวงกว้าง  (Wide  Area  Network  :  WAN)  ระบบเครือข่ายแบบนี้เป็นการขยายเขตการเชื่อมต่อครอบคลุมไปเป็นพื้นที่ระดับภูมิภาค  ระบบนี้ประกอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์หลักเรียกว่า  โฮสต์คอมพิวเตอร์  (Host  Computer)  ทำหน้าที่คอยให้บริการแก่ผู้ใช้ทั้งหมดที่เป็นสมาชิกในกลุ่มตนเอง  โดยโฮสต์คอมพิวเตอร์จะเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายย่อย     ซึ่งมีหน้าที่ให้บริการรับ-ส่งข้อมูลระหว่างโฮสต์ต่างๆ  หลักการ                ระบบเครือข่ายย่อยในเครือข่าย  WAN ประกอบด้วยอุปกรณ์สองอย่าง  คือ  สายสื่อสาร  (Transmission  line)  และอุปกรณ์สลับช่องสื่อสาร  (Switching  elements)
เครือข่ายแบบบัส (Bus Network)  เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ด้วยสายเคเบิ้ลยาวต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ โดยจะมีคอนเน็กเตอร์เป็นตัวเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ เข้ากับสายเคเบิ้ลในการส่งข้อมูลจะมีคอมพิวเตอร์เพียงตัวเดียวเท่านั้น ที่สามารถส่งข้อมูลได้ในช่วง เวลาหนึ่งๆ การจัดส่งข้อมูลวิธีนี้จะต้องกำหนดวิธีการที่จะไม่ให้ทุกสถานีส่งข้อมูลพร้อมกัน เพราะจะทำ ให้ข้อมูลชนกัน วิธีการที่ใช้อาจแบ่งเวลาหรือให้แต่ละสถานีใช้ความถี่สัญญาณที่แตกต่างกัน การเซตอัป เครื่องเครือข่ายแบบบัสนี้ ทำได้ไม่ยากเพราะคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์แต่ละชนิด ถูกเชื่อมต่อด้วยสาย เคเบิ้ลเพียงเส้นเดียวโดยส่วนใหญ่เครือข่ายแบบบัส  มักจะใช้ในเครือข่ายขนาดเล็ก ซึ่งอยู่ในองค์กรที่มี คอมพิวเตอร์ใช้ไม่มากนัก

เครือข่ายแบบดาว (Star Network)เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ เข้ากับอุปกรณ์ ที่เป็น จุดศูนย์กลางของเครือข่าย โดยการนำสถานีต่าง ๆ มาต่อร่วมกันกับหน่วย สลับสายกลาง การติดต่อสื่อสารระหว่างสถานีจะกระทำได้ด้วยการ ติดต่อผ่านทางวงจรของหน่วนสลับสายกลาง การทำงานของหน่วยสลับสายกลางจึงเป็นศูนย์กลางของการติดต่อ วงจรเชื่อมโยงระหว่างสถานี ต่าง ๆ ที่ต้องการติดต่อกัน
เครือข่ายแบบวงแหวน (Ring Network)เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อ คอมพิวเตอร์ด้วยสายเคเบิลยาวเส้นเดียวในลักษณะวงแหวน  การรับส่งข้อมูลในเครือข่ายวงแหวน จะใช้ทิศทางเดียวเท่านั้น เมื่อคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งส่งข้อมูลมันก็จะส่งไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องถัดไป ถ้าข้อมูลที่รับมาไม่ตรง ตามที่คอมพิวเตอร์เครื่องต้นทางระบุ ก็จะส่งผ่านไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องถัดไปซึ่งจะเป็นขั้นตอน อย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะถึงคอมพิวเตอร์ปลายทางที่ถูกระบุตามที่อยู่จากเครื่องต้นทาง

เครือข่ายแบบต้นไม้ (Tree Network)  เป็นเครือข่ายที่มีผสมผสานโครงสร้างเครือข่าย แบบต่าง ๆ เข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่  การจัดส่งข้อมูลสามารถส่งไปถึงได้ทุกสถานี การสื่อสารข้อมูลจะผ่านตัวกลางไปยังสถานีอื่น ๆ ได้ทั้งหมด เพราะทุกสถานีจะอยู่บนทางเชื่อม รับส่งข้อมูลเดียวกัน

คอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์



 คอมพิวเตอร์ หมายถึง เครื่องมือหรืออุปกรณ์ประเภทอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานด้วยคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมต่างๆ สามารถเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายได้หลายแบบ ลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์คือมีศักยภาพสูงในการคำนวณประมวลผลข้อมูลทั้งที่เป็นตัวเลข รูปภาพ ตัวอักษร และเสียง

ส่วนประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์
 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ หมายถึง ส่วนที่ประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น ส่วนคือ


 ส่วนที1หน่วยรับข้อมูลเข้า (Input Unit) เป็นวัสดุอุปกรณ์ที่นำมาเชื่อมต่อ ทำหน้าที่ป้อนสัญญาณเข้าสู่ระบบ เพื่อกำหนดให้คอมพิวเตอรืทำงานตามความต้องการ ได้แก่     

    -แป้นอักขระ (Keyboard)
    -แผ่นซีดี (CD-Rom)
    -ไมโครโฟน (Microphone) เป็นต้น

ส่วนทีหน่วยประมวลผลกลาง  (Central Processing Unit)    ทำหน้าที่เกี่ยวกับการคำนวณทั้งทางตรรกะและคณิตศาสตร์ รวมถึงการประมวลข้อมูลตามคำสั่งที่ได้รับ

ส่วนที่หน่วยความจำ  (Memory Unit)   ทำหน้าที่เก็บข้อมูลหรือคำสั่งที่ส่งมาจากหน่วยรับข้อมูลเพื่อเตรียมส่งไปประมวลผลยังหน่วยประมวลผลกลาง และเก็บผลลัพธ์ที่ได้จาการประมวลผลแล้วเพื่อเตรียมส่งไปยังหน่วยแสดงผล

ส่วนที่4  หน่วยแสดงผล  (Output Unit)  ทำหน้าที่แสดงข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผล หรือผ่านการคำนวณแล้ว

ส่วนที่ อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ  (Peripheral Equipment)   เป็นอุปกรณ์ที่นำมาต่อพ่วงเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มากยิ่งขึ้น เช่น โมเด็ม (modem) แผงวงจรเชื่อมต่อ เครือข่าย เป็นต้น



ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์

1. มีความเร็วในการทำงานสูง สามารถประมวลผลคำสั่งได้รวดเร็วเพียงชั่ววินาที จึงใช้ในงานคำนวณต่างๆได้อย่างรวดเร็ว

2. มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง ทำงานได้ตลอด 24 ชั่งโมง ใช้แทนกำลังคนได้มาก
3. มีความถูกต้องแม่นยำ ตามโปรแกรมสั่งงานและข้อมูลที่ใช้
4. เก็บข้อมูลได้มาก ไม่เปลืองเนื้อที่เก็บเอกสาร
5. สามารถโอนย้ายข้อมูลจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งผ่านระบบเครือข่ายได้อย่างรวดเร็ว ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งาน

ระบบคอมพิวเตอร์  หมายถึง กรรมวิธีที่คอมพิวเตอร์ทำการใดๆ กับข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์ตามความประสงค์ของผู้ใช้งานให้มากที่สุด เช่น ระบบเสียภาษี  ระบบทะเบียนราษฎร์  ระบบทะเบียนการค้า  ระบบเวชระเบียนของโรงพยาบาล เป็นต้น      การเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้สามารถเข้าถึงได้โดยการตรวจสอบจากการประมวลผลของระบบคอมพิวเตอร์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์   ระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพจะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วน ดังนี้
1.ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หรือส่วนเครื่อง
2.ซอฟแวร์ (Software) หรือส่วนชุดคำสั่ง
3.ข้อมูล (Data)
4.บุคลากร (Peopleware)

ฮาร์ดแวร์ (Hardware)    หมายถึง ตัวเครื่องและอุปกรณ์ส่วนต่างๆที่เราสามารถสัมผัสและจับต้องได้  ฮาร์ดแวร์ประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 4 ส่วน ดังนี้คือ    
    1.ส่วนประมวลผล (Processor)
    2.ส่วนความจำ (Memory)
    3.อุปกรณ์รับเข้าและส่งออก (Input-Output  Devices)
    4.อุปกรณ์หน่วยเก็บข้อมูล (Storage Device)

ส่วนที่1 CPU เป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่เปรียบเสมือนสมอง      มีหน้าที่หลักในการควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ ประมวนผลและเปรียบเทียบข้อมูล โดยทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูลดิบและแปลงให้เป็นสารสนเทศที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ความสามารถของ ซีพียู นั้น พิจารณาจากความเร็วของการทำงาน การรับส่งข้อมูล อ่านและเขียนข้อมูลในหน่วยความจำ ความเร็วของซีพียูขึ้นอยู่กับตัวให้จังหวะที่เรียกว่า สัญญาณนาฬิกา เป็นความเร็วของจำนวนรอบสัญญาณใน วินาที มีหน่วยเป็น เฮิร์ตซ์(Hertz)เช่น สัญญาณความเร็ว 1 ล้านรอบใน 1 วินาที เทียบเท่าความเร็วสัญญาณนาฬิกา จิกะเฮิร์ตซ์ (1GHz)

ส่วนที่ หน่วยความจำ (Memory)จำแนกออกเป็น  ประเภท ดังนี้
1. หน่วยความจำหลัก (Main Memory)   
2. หน่วยความจำสำรอง (Secondary Storage)

1. หน่วยความจำหลัก (Main Memory) เป็นหน่วยเก็บข้อมูลและคำสั่งต่างๆของเครื่องคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยชุดความจำข้อมูลที่สามารถบอกตำแหน่งที่เก็บข้อมูลหรือคำสั่ง ข้อมูลจะถูกนำไปเก็บไว้และสามารถนำออกมาใช้ในการประมวลผลภายหลัง โดยCPUทำหน้าที่ในการนำข้อมูลเข้าและนำออกจากหน่วยความจำ การทำงานของคอมพิวเตอร์ ต้องใช้พื้นที่ ของหน่วยความจำในการทำงานประมวลผล  และเก็บข้อมูล ขนาดของความจุของหน่วย ความจำ คำนวณได้จากค่าจำนวนพื้นที่ที่ สามารถใช้ในการเก็บข้อมูล จำนวนพื้นที่คือ จำนวนข้อมูล และขนาดของโปรแกรมที่สามารถ เก็บข้อมูลได้สูงสุด พื้นที่หน่วยความจำมีมากจะทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วมากยิ่งขึ้น
หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) มีความหมายทางด้านฮาร์ดแวร์ อย่าง คือ
1.ชิป (chip) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์
2.ตัวกล่องเครื่องที่มี CPU บรรจุอยู่

1.หน่วยความจำหลักแบ่งได้ 2  ประเภทคือ หน่วยความจำแบบ แรม (RAM)และหน่วยความจำแบบรอม”(ROM)
 1.หน่วยความจำแบบ แรม   (RAM=Random Access Memory)
เป็นหน่วยความจำที่ต้องอาศัยกระแสไฟฟ้าเพื่อรักษาข้อมูล ข้อมูลหรือแฟ้มข้อมูลจะถูกเก็บไว้ชั่วคราวขณะทำงาน ข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำจะอยู่ได้นานจนกว่าจะปิดเครื่อง หรือไม่มีกระแสไฟฟ้าป้อนให้กับเครื่อง เราเรียกหน่วยความจำประเภทนี้ว่า หน่วยความจำแบบลบเลือนได้ (Volatile Memory)
1.2 หน่วยความจำแบบ รอม” (ROM=Read Only Memory) เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บโปรแกรมหรือข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่ถาวรไม่ขึ้นกับไฟฟ้าที่ป้อนให้กับวงจร ยอมให้ซีพียูอ่านข้อมูลหรือโปรแกรมไปใช้งานอย่างเดียว ไม่สามารถเขียนข้อมูลลงไปเก็บไว้ได้โดยง่าย ส่วนใหญ่ใช้เก็บโปรแกรมควบคุม เราเรียกหน่วยความจำประเภทนี้ว่า หน่วยความจำแบบไม่ลบเลือน (Nonvolatile Memory)

คอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์2


ส่วนที่1 CPU เป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่เปรียบเสมือนสมอง      มีหน้าที่หลักในการควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ ประมวนผลและเปรียบเทียบข้อมูล โดยทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูลดิบและแปลงให้เป็นสารสนเทศที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ความสามารถของ ซีพียู นั้น พิจารณาจากความเร็วของการทำงาน การรับส่งข้อมูล อ่านและเขียนข้อมูลในหน่วยความจำ ความเร็วของซีพียูขึ้นอยู่กับตัวให้จังหวะที่เรียกว่า สัญญาณนาฬิกา เป็นความเร็วของจำนวนรอบสัญญาณใน วินาที มีหน่วยเป็น เฮิร์ตซ์(Hertz)เช่น สัญญาณความเร็ว 1 ล้านรอบใน 1 วินาที เทียบเท่าความเร็วสัญญาณนาฬิกา จิกะเฮิร์ตซ์ (1GHz)

ส่วนที่ หน่วยความจำ (Memory)จำแนกออกเป็น  ประเภท ดังนี้
1. หน่วยความจำหลัก (Main Memory)   
2. หน่วยความจำสำรอง (Secondary Storage)

1. หน่วยความจำหลัก (Main Memory) เป็นหน่วยเก็บข้อมูลและคำสั่งต่างๆของเครื่องคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยชุดความจำข้อมูลที่สามารถบอกตำแหน่งที่เก็บข้อมูลหรือคำสั่ง ข้อมูลจะถูกนำไปเก็บไว้และสามารถนำออกมาใช้ในการประมวลผลภายหลัง โดยCPUทำหน้าที่ในการนำข้อมูลเข้าและนำออกจากหน่วยความจำ การทำงานของคอมพิวเตอร์ ต้องใช้พื้นที่ ของหน่วยความจำในการทำงานประมวลผล  และเก็บข้อมูล ขนาดของความจุของหน่วย ความจำ คำนวณได้จากค่าจำนวนพื้นที่ที่ สามารถใช้ในการเก็บข้อมูล จำนวนพื้นที่คือ จำนวนข้อมูล และขนาดของโปรแกรมที่สามารถ เก็บข้อมูลได้สูงสุด พื้นที่หน่วยความจำมีมากจะทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วมากยิ่งขึ้น
หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) มีความหมายทางด้านฮาร์ดแวร์ อย่าง คือ
1.ชิป (chip) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์
2.ตัวกล่องเครื่องที่มี CPU บรรจุอยู่

1.หน่วยความจำหลักแบ่งได้ 2  ประเภทคือ หน่วยความจำแบบ แรม (RAM)และหน่วยความจำแบบรอม”(ROM)
 1.หน่วยความจำแบบ แรม   (RAM=Random Access Memory)
เป็นหน่วยความจำที่ต้องอาศัยกระแสไฟฟ้าเพื่อรักษาข้อมูล ข้อมูลหรือแฟ้มข้อมูลจะถูกเก็บไว้ชั่วคราวขณะทำงาน ข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำจะอยู่ได้นานจนกว่าจะปิดเครื่อง หรือไม่มีกระแสไฟฟ้าป้อนให้กับเครื่อง เราเรียกหน่วยความจำประเภทนี้ว่า หน่วยความจำแบบลบเลือนได้ (Volatile Memory)
1.2 หน่วยความจำแบบ รอม” (ROM=Read Only Memory) เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บโปรแกรมหรือข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่ถาวรไม่ขึ้นกับไฟฟ้าที่ป้อนให้กับวงจร ยอมให้ซีพียูอ่านข้อมูลหรือโปรแกรมไปใช้งานอย่างเดียว ไม่สามารถเขียนข้อมูลลงไปเก็บไว้ได้โดยง่าย ส่วนใหญ่ใช้เก็บโปรแกรมควบคุม เราเรียกหน่วยความจำประเภทนี้ว่า หน่วยความจำแบบไม่ลบเลือน (Nonvolatile Memory)

หน่วยความจำสำรอง (Secondary Memory Unit) เป็นหน่วย เก็บที่สามารถรักษาข้อมูลได้ตลอดไปหลังจากปิดเครื่อง
คอมพิวเตอร์แล้ว หน่วยความจำรองมีหน้าที่หลักคือ
1.ใช้ในการเก็บข้อมูลหรือสำรองข้อมูลเพื่อใช้ในอนาคต
2.ใช้ในการเก็บข้อมูล โปรแกรมไว้อย่างถาวร
3.ใช้เป็นสื่อในการส่งผ่านข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง

ประโยชน์ของหน่วยความจำสำรองหน่วยความจำรองจะช่วยแก้ปัญหาการสูญหายของข้อมูล อันเนื่องมาจากไฟฟ้าดับเพราะข้อมูลต่างๆที่ส่งเข้ามา ประมวลผล เมื่อเรียบร้อยแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้จะถูกนำไปเก็บใน ความจำหลักประเภทแรม หากปิดเครื่องหรือมีปัญหาทาง ไฟฟ้า อาจทำให้ข้อมูลสูญหายจึงจำเป็นต้องมีหน่วยความจำรอง เพื่อนำข้อมูลจากหน่วยความจำแรมมาเก็บไว้ใช้งานในครั้งต่อไป หน่วยความจำประเภทนี้ส่วนใหญ่จะพบในรูปของสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลภายนอก เช่น ฮาร์ดดิสก์ แผ่นบันทึก ชิปดิสก์ ซีดีรอม ดีวีดี เทปแม่เหล็ก หน่วยความจำแบบแฟลช หน่วยความจำรองนี้ ถึงจะไม่มีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่เครื่องคอมพิวเตอร์ก็ยังสามารถทำงานได้ปกติ 

ส่วนแสดงผลข้อมูลส่วนแสดงผลข้อมูล   คือส่วนที่แสดงข้อมูลจากสัญญาณไฟฟ้าในหน่วยประมวลผลกลาง ให้เป็นรูปแบบที่คนเราสามารถเข้าใจได้  อุปกรณ์ที่แสดงผลข้อมูลได้แก่  จอภาพ (Monitor)
เครื่องพิมพ์( Printer)เครื่องพิมพ์ภาพ Ploter
และ ลำโพง (Speaker)  เป็นต้น                          
         
 บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ (PEOPLEWARE)บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ หมายถึง คนที่มีความรู้ความสามารถในการใช้หรือควบคุมให้ การใช้คอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างราบรื่น อาจจะประกอบด้วยคนเพียงคนเดียว หรือ หลายคนช่วยกันรับผิดชอบโครงสร้างของ
หน่วยงานคอมพิวเตอร์ ประเภทของบุคลากรทางคอมพิวเตอร์ (PEOPLEWARE)
1. ฝ่ายวิเคราะห์และออกแบบระบบงาน 
2. ฝ่ายเกี่ยวกับโปรแกรม 
3. ฝ่ายปฏิบัติงานเครื่องและบริการ 

บุคลากรในหน่วยงานคอมพิวเตอร์
1. หัวหน้าหน่วยงานคอมพิวเตอร์ (EDP Manager)
2. หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์และวางแผนระบบงาน (System Analyst หรือ SA)
3. โปรแกรมเมอร์ (Programmer)
4. ผู้ควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ (Computer Operator)
5. พนักงานจัดเตรียมข้อมูล (Data Entry Operator)                             
    -  นักวิเคราะห์ระบบงาน  ทำการศึกษาระบบงานเดิม ออกแบบระบบงานใหม่  โปรแกรมเมอร์  นำระบบงานใหม่ที่นักวิเคราะห์ระบบออกแบบไว้มาสร้างเป็นโปรแกรม                
    -  วิศวกรระบบ   ทำหน้าที่ออกแบบ สร้าง ซ่อมบำรุง และดูแลรักษาฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานได้ตามต้องการ  พนักงานปฏิบัติการ    ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ หรือภารกิจประจำวัน ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์

อาจแบ่งประเภทของบุคลากรคอมพิวเตอร์  เป็นระดับต่างๆได้ ระดับดังนี้
1. ผู้จัดการระบบ (System Manager)  คือ ผู้วางนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงาน
2. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst)  คือ ผู้ที่ศึกษาระบบงานเดิมหรืองานใหม่และทำการวิเคราะห์ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการใช้คอมพิวเตอร์กับระบบงาน เพื่อให้โปรแกรมเมอร์เป็นผู้เขียนโปรแกรมให้กับระบบงาน
3. โปรแกรมเมอร์ (Programmer)  คือ ผู้เขียนโปรแกรมสั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ โดยเขียนตามแผนผังที่นักวิเคราะห์ระบบได้เขียนไว้
4. ผู้ใช้ (User)  คือ ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่งต้องเรียนรู้วิธีการใช้เครื่อง และวิธีการใช้งานโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมที่มีอยู่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการงานที่มอบหมายให้ทำ (Assignment)

2. หน่วยความจำสำรองหน่วยความจำชนิดนี้มีไว้สำหรับสำรองหรือทำงานกับข้อมูลและโปรแกรมขนาดใหญ่เนื่องจากขนาดของหน่วยความจำหลักมีจำกัด หน่วยความจำสำรองสามารถเก็บไว้ได้หลายแบบ เช่น แผ่นบันทึก (Floppy Disk) จานบันทึกแบบแข็ง (Hard Disk) แผ่นซีดีรอม (CD-ROM)จานแสงแม่เหล็ก

ซอฟต์แวร์


ซอฟต์แวร์ คือ การลำดับขั้นตอนการทำงานของคำสั่งที่จะทำหน้าที่สั่งคอมพิวเตรอ์ว่าให้ทำอะไร เป็นชุดของโปรแกรมหลายๆโปรแกรมนำมารวมกันให้สามารถทำงานได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ตามที่ต้องการเรามองไม่เห็นหรือสัมผัสไม่ได้แต่เราสามารถสร้างจัดเก็บ และนำมาใช้งานหรือเผยแพร่ได้ด้วยสื่อหลายชนิดเช่น แผ่นบันทึก แผ่นซีดี แฟล็ชไดร์ฟ ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น

หน้าที่ของซอฟต์แวร์
ซอฟต์แวร์ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้คอมพิวเตอร์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มีซอฟแวร์เราก็ไม่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรได้เลย ซอฟแวร์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท

ประเภทของซอฟต์แวร์
ซอฟแวร์แบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ
ซอฟแวร์ระบบ (System Software)
ซอฟต์แวร์ประยุกต์(Application Software)
และซอฟแวร์ใช้งานเฉพาะ

1.ซอฟท์แวร์ระบบ  (System Software)
            ซอฟท์แวร์ระบบเป็นโปรแกรมที่บริษัทผู้ผลิดสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ หน้าที่การทำงานของซอฟแวร์ระบบคือ ดำเนินงานพื้นฐานต่างๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแผง แป้นอักขระแล้วแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำข้อมูลไปแสดงผลบนจอภาพหรือนำออกไปยังเครื่องพิมพ์ จัดการข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูลบนหน้าความจำสำรอง
             ซอฟท์แวร์ระบบ (System Software)
System Software หรือโปรแกรมระบบที่รู้จักกันดีก็คือ DOS,Windows.Unix,Linux รวมทั้งโปรแกรมแปลคำสั่งที่เขียนในภาษาระดับสูง เช่น ภาษา Basic, Fortran, Pascal,Cobol,C เป็นต้น
นอกจากนี้โปรแกรมที่ใช้ในการตรวจสอบระบบเช่น Norton’s Utilities ก็นับเป็นโปรแกรมสำหรับระบบด้วยเช่นกัน

หน้าที่ของซอฟต์แวร์ระบบ
1) ใช้ในการจัดการหน่วยรับเข้าและหน่อยส่งออก เช่น รับรู้การกกดแป้นต่างๆ บนแผงแป้นอักขระ ส่งรหัสตัวอักษรออกทางจอภาพหรือเครื่องพิมพ์ ติดต่อกับอุปกรณ์รับเข้าและส่งออกอื่นๆ เช่น เมาส์ ลำโพงเป็นต้น
2) ใช้ในการจัดการหน่วยความจำ เพื่อนำข้อมูลจากแผ่นบันทึกมาบรรจุยังหน่วยความจำหลัก หรือในทำนองกลับกันคือนำข้อมูลจากหน่วยความจำหลักมาเก็บไว้ในแผ่นบันทึก
3) ใช้เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น เช่น การขอดูรายการในสาระบบ (directory) ในแผ่นบันทึกการทำสำเนาแฟ้มข้อมูล
ซอฟต์แวร์ระบบพื่นฐานที่เห็นกันทั่วไป แบ่งออกเป็นระบบปฏิบัติการและตัวแปลภาษา

ประเถทของซอฟต์แวร์ระบบ
ซอฟต์แวร์ระบบ แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
1.ระบบปฏิบัติการ (Operating System : OS)
2.ตัวแปลภาษา

1. ระบบปฏิบัติการหรือที่เรียกย่อๆว่า โอเอส (Operrating System : OS) เป็น
ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการดูแลระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการนี้ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันมากและเป็นที่รู้จักกันดีเช่น ดอส วินโดวส์ ยูนิกซ์ ลีนุกซ์ และแมคอินทอช เป็นต้น

1.ระบบปฏิบัติการ (Operating System : OS)
1.ดอส (Disk Operating System : DOS) เป็นซอฟต์แวร์จัดระบบงานที่พัฒนามานานแล้ว การใช้งานจึงใช้คำสั่งเป็นตัวอักษร ดอสเป็นซอฟต์แวร์ที่รู้จักกันดีในหมู่ผู้ใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในอดีต ปัจจุบันระบบปฏิบัติการดอสนั้นมีการใช้งานน้อยมาก
2. วินโดวส์ (Windows) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาต่อจากดอส โดยให้ผู้ใช้สามารถสั่งงานได้
จากเมาส์มากขึ้นแทนการใช้แผงแป้นอักขระเพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ยังสามารถทำงานหลายงานพร้อมกันได้ โดยงานแต่ละงานจะอยู่ในกรอบช่องหน้าต่างบนจอภาพ การใช้งานเน้นรูปแบบกราฟิก ผู้ใช้งานสามารถใช้เมาส์เลื่อนตัวชี้เพื่อเลือกตำแหน่งที่ปรากฏยันจอภาพ ทำให้ใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ง่าย
ระบบปฏิบัติการวินโดวส์จึงได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน
3.ยูนิกซ์ (Unix) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาตั้งแต่ครั้งใช้กับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่เป็นเทคโนโลยีแบบเปิด (Open System) ซึ่งเป็นแนวคิดที่ผู้ใช้ไม่ต้องผูกติดกับระบบใดระบบหนึ่งหรือใช้อุปกรณ์ที่มียี่ห้อเดียวกัน ยูนิกซ์ยังถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองการใช้งานในลักษณะที่มีผู้ใช้ได้หลายคนในเวลาเดียวกันที่เรียกว่า ระบบหลายผู้ใช้ (multiusers) และสามารถทำงานได้หลายๆ งานในเวลาเดียวกันในลักษณะที่เรียกว่า ระบบหลายภารกิจ (multitasking) ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์จึงนิยมใช้กับเครื่องที่เชื่อมโยงเป็นเครือข่าย เพื่อใช้งานร่วมกันหลายๆเครื่องพร้อมกัน
4.ลีนุกซ์ (linux) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาจากระบบยูกนิกซ์เป็นระบบซึ่งมีการแจกจ่าย
โปรแกรมต้นฉบับให้นักพัฒนาช่วยกันพัฒนาคุณสมบัติของระบบปฏิบัติการ ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์เป็นที่นิยมกันมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากมีโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ ที่ทำงานบนระบบลีนุกซ์จำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรแกรมในกลุ่มของกูส์นิว (GNU) และสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือระบบลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการประเภทแจกฟรี (Free Ware) ผู้ใช้สามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย

ระบบลีนุกซ์ สามารถทำงานได้บนซีพียูหลายตระกูล เช่น อินเทล (PC Intel) ดิจิตอล (Digital Alpha Computer) และซันสปาร์ค (Sun SPARC) ถึงแม้ว่าในขณะนี้ลีนุกซ์ยังไม่สามารถแทนที่ระบบปฏิบัติการวินโดวส์บนพีซีได้ทั้งหมดก็ตามแต่ผู้ใช้จำนวนมากได้หันมาใช้และช่วยกันพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนลีนุกซ์กันมากขึ้น
5.แมคอินทอช (macintosh) เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ แมคอินทอช ส่วนมากนำไปใช้งานด้านกราฟิก ออกแบบและจัดแต่งเอกสารนิยมใช้ในสำนักพิมพ์ต่างๆ
                นอกจากระบบปฏิบัติการที่กล่าวมาแล้วยังมีระบบปฏิบัติการอีกมากเช่นระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานร่วมกันเป็นระบบ เช่นระบบปฏิบัติการเน็ตแวร์นอกจากนี้ยังมีระบบปฏิบัติการที่ใช้งานเฉพาะกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นมาเพื่องานใดงานหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ใรสถาบันการศึกษา
ชนิดของระบบปฏิบัติการ จำแนกตามการใช้งานสามารถจำแนกออกได้เป็น 3 ชนิดด้วยกันคือ
ประเภทใช้งานเดียว (Single-tasking) ระบบปฏิบัติการประเภทนี้จะกำหนดให้คอมพิวเตอร์ใช้งานได้ครั้งละหนึ่งงานเท่านั้น   ใช้ในเครื่องขนาดเล็กอย่างไมโครคอมพิวเตอร์ เช่น ระบบปฏิบัติการ ดอส เป็นต้น
ประเภทใช้หลายงาน (Multi-tasking)
ระบบปฏิบัติการประเภทนี้สามารถควบคุมการทำงานพร้อมกันหลายงานในขณะเดียวกันผู้ใช้สามารถทำงานกับซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้หลายชนิดในเวลาเดียวกัน เช่น ระบบปฏิบัติการ Windows 98 ขึ้นไปและ UNIX เป็นต้น

3.ประเภทใช้งานหลายคน (Multi-user)
      ในหน่วยงานบางแห่งอาจใช้คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ทำหน้าที่ประมวลผล ทำให้ในขณะใดขณะหนึ่งมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์พร้อมกันหลายคนแต่ละคนจะมีสถานีงานของตนเองเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์จึงต้องใช้ระบบปฏิบัติการที่มีความสามารถสูงเพื่อให้ผู้ใช้ทุกคนสามารถทำงานเสร็จในเวลา เช่น ระบบปฏิบัติการ Windows NT และ UNIX เป็นต้น

2.ตัวแปลภาษา
        การพัฒนาซอฟแวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาระดับสูงเพื่อแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง
        ภาษาระดับสูงมีหลายภาษาซึ่งสร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เขียนโปรแกรมเขียนชุดคำสั่งได้ง่าย เข้าใจได้ และเพื่อให้สามารถปรับปรุงแก้ไขซอฟแวร์ในภายหลังได้ภาษาระดับสูงที่พัฒนาขึ้นทุกภาษาต้องมีตัวแปลภาษา
ซึ่งภาษาระดับสูงได้แก่ ภาษา Basic,Pascal,Cและภาษาโลโก เป็นต้น
        นอกจากนี้ ยังมีคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันอีกมากได้แก่ Fortran,cobol,และภาษาอาร์พีจี

2.2 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (application Software)
ซอฟต์แวร์ที่ใช้ทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ทำงานเฉพาะด้าน เช่น การจัดพิมพ์รายงาน การนำเสนองาน การจัดทำบัญชี การตกแต่งภาพ หรือการออกแบบเว็บไซต์ เป็นต้น
ประเภทของซอฟต์แวร์ประยุกต์
แบ่งตามลักษณะการผลิต จำแนกได้เป็น 2 ประเภทคือ
1.ซอฟแวร์ท่พัฒนาขึ้นใช้เองโดยเฉพาะ (Proprietary Software)
2.ซอฟแวร์ที่หาซื้อได้ทั้วไป (Packaged Software) มีทั้งโปรแกรมเฉพาะ (Customized Software) และโปรแกรมมาตรฐาน (Standard Package)
ประเภทของซอฟต์แวน์ประยุกต์
แบ่งตามกลุ่มการใช้งาน จำแนกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆดังนี้
1.กลุ่มการใช้งานทางด้านธุรกิจ (Business)
2.กลุ่มการใช้งานด้านกราฟิกและมัลติมีเดีย (Graphic and Multimedia)
3.กลุ่มการใช้งานบนเว็บ (Web and Communications)
กลุ่มการใช้งานทางด้านธุรกิจ (Business)
ซอฟแวร์กลุ่มนี้ ถูกนำมาใช้โดยมุ่งหวังให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นเช่น การจัดพิมพ์รายงานเอกสาร นำเสนองานและการบันทึกนัดหมายต่างๆ ตัวอย่างเช่น :
โปรแกรมประมวลคำ อาทิ Microsoft Word , Sun StarOffice Writeer
โปรแกรมตารางคำนวนณ อาทิ Microsoft Excel, Sun StarOffice Cals
โปรแกรมนำเสนองาน อาทิ Microsoft PowerPoint, Sun StarOffice Impress